Blogger นี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีอาจารย์เหมราช ธนะปัทม์ เป็นผู้สอน

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

 ขนมไทย



ย้อนรอยขนมไทย

         คำว่า “ขนม”มาจากคำว่า “เข้าหนม” ความหมายของคำว่า “หนม” แปลว่า “หวาน” “เข้าหนม” จึงแปลว่า ”เข้าหวาน” โดยความหวานที่ได้ก็มาจากน้ำอ้อย น้ำตาล ต่อมาจึงเพี้ยนจาก “เข้าหนม” มาเป็น “ขนม”

         ขนมไทยในยุคแรกๆ เป็นเพียงข้าวที่นำมาตำหรือโม่บดจนกลายเป็นแป้ง จากนั้นนำไปผสมกับน้ำตาลเพื่อทำเป็นขนม ต่อมาได้ผสมมะพร้าวลงไปด้วย ซึ่งของทั้งสามอย่างที่ว่าเป็นสิ่งที่หาได้ทั่วไปในบ้านเรา พอเข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก และเริ่มรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลง มีเครื่องมือเครื่องใช้มากขึ้น รวมทั้งหาวัตถุดิบในการทำอาหารและขนมได้ง่ายขึ้น จึงมีผู้คิดค้นขนมที่หลากหลายแตกหน่อแตกแขนงจนแยกไม่ออกว่าอะไรที่เป็นขนมไทยแท้



 ขนมไทยมีหลายชนิดหลากประเภท แบ่งได้เป็นขนมเปียก ขนมเหลว ขนมแห้ง และขนมแข็ง สำหรับขนมเหลวจะเป็นขนมที่กินกับน้ำกะทิหรือประเภทลอยแก้ว เช่น ครองแครง ปลากริมไข่เต่า ลอดช่อง ซ่าหริ่ม บัวลอย ถ้าเป็นขนมแห้งเป็นขนมที่ต้องอบจนกรอบหรือกวน หรือผัดจนแห้งแล้วนำมาปั้น ได้แก่ ขนมผิง ขนมฝรั่ง ขนมสำปันนี ขนมหินฝนทอง ขนมทองเอก ขนมทองม้วน ขนมหน้านวล ส่วนขนมที่จัดอยู่ในขนมเปียก คือ ขนมพันตอง ขนมใส่ไส้ ขนมซ่อนลูก ขนมครก ขนมถ้วย ขนมต้มแดง ที่เป็นขนมเปียกเพราะเวลากินจะรู้สึกว่ามีน้ำกะทิแฉะๆ อยู่เล็กน้อย สุดท้ายคือขนมแข็งหรือกึ่งแห้งกึ่งเปียก เช่น ขนมถ้วย ขนมชั้น ขนมเปียกปูน ขนมหม้อแกง ขนมกรวย โดยขนมนั้นจับตัวเป็นก้อน เนื้อไม่แข็ง แต่ไม่เหลวเยิ้ม



สัมปันนี





เม็ดขนุน






ขนมชั้น





ทองหยิบ + ทองหยอด + ฝอยทอง + เม็ดขนุน






ขนมเบื้อง




ขนมจ่ามงกุฎ







ขนมน้ำดอกไม้







ขนมอาลัว








กาละแม







ขนมหม้อแกง







ลูกชุบ






ขนมหยกมณี







ขนมหน้านวล






ขนมเสน่ห์จันทร์






ข้าวตอกตั้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น