เทคนิคการเตรียมตัวสอบ
และ การทำข้อสอบ ให้ได้คะแนนสูงๆ
และ การทำข้อสอบ ให้ได้คะแนนสูงๆ
1. ทบทวน ท่อง ทฤษฎีบทหรือนิยาม ของบทเรียนที่จะมีการสอบ ให้ได้อย่างขึ้นใจ ชนิดที่ว่าแม้พิสูจน์โจทย์ข้อสอบนั้นไม่ได้ แต่ก็ยังสามารถแสดงความสัมพันธ์ของโจทย์กับทฤษฎีบทหรือนิยามนั้นๆ ให้อาจารย์ผู้ตรวจข้อสอบอ่านได้อย่างถูกต้อง รับรองว่าต้องได้คะแนนข้อนั้นอย่างแน่นอน จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับลายมือผู้สอบจะเขียนได้สวยแค่ไหน
2. ทบทวนแบบฝึกหัดทุกข้อ ที่อาจารย์ผู้สอนชอบย้ำนักหนาในห้องว่า "ข้อสอบก็ออกในแนวนี้ละ" หรืออาจารย์บางท่านก็พูดย้ำตรงๆ เลยว่า "ข้อนี้ออก............นะ" ดังนั้นเวลาเรียนถ้าเจออาจารย์พูดแบบนี้ ก็อย่าลืมเอาปากกาแดงทำ * กาไว้ที่แบบฝึกหัดข้อนั้นให้ใหญ่ๆ เลยทีเดียว รับรองไม่พลาด ถ้าข้อไหนทวนหลายครั้งแล้วแต่ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี ให้ฝึกเขียนหลายๆครั้ง จนจำขึ้นใจ |
3. เตรียมอุปกรณ์เครื่องเขียนที่จะใช้ในการสอบให้พร้อม เข้านอนแต่หัวค่ำทำใจให้ผ่องใส อย่าลืมสวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิทำใจนิ่งๆว่างๆก่อนนอนสัก 5 นาที จะทำให้ใจสงบและหลับอย่างเป็นสุข พร้อมจะเผชิญอุปสรรค ของวันใหม่
4. ตื่นนอนตี 5 ของวันใหม่ ล้างหน้าล้างตาให้สดใส ทบทวนเนื้อหาทั้งหมด ตลอดจนทฤษฎีบท แบบฝึกหัด (ที่ทบทวนไปเมื่อวาน) โดยอ่านแบบผ่านๆ สายตา ความเงียบสงบของเช้าตรู่จะช่วยให้จำได้ดี
5. ถึงหน้าห้องสอบก่อนเวลา สัก 10 นาที ตรวจเลขที่นั่งสอบของตนเองให้เรียบร้อย และไม่ต้องสนใจที่จะถกปัญหาเรื่องโจทย์กับใคร ตลอดจนไม่อ่านหนังสือ หรือทบทวนอะไรในหัวสมองอีก ทำใจให้เบิกบานว่างๆ ไม่สนใจคนรอบข้าง | |
6. เมื่อผู้คุมสอบเรียกเข้าห้อง เข้านั่งประจำโต๊ะ วางอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องเขียนในทิศทางที่หยิบใช้ได้ง่าย นั่งตัวตรงทำใจว่างๆ เตือนสติตนเองอีกครั้ง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเราจะไม่พยายาม "ทุจริต" ด้วยวิธีการใดๆ ทั้งสิ้น เพราะนั้นเท่ากับเราหมดภูมิและพยายามฆ่าตัวตายชัดๆ |
7. รอกรรมการแจกข้อสอบ หรือถ้าข้อสอบวางคว่ำอยู่บนโต๊ะแล้ว ให้รอคำสั่งเปิดข้อสอบ เมื่อเวลาสัญญานเริ่มทำการสอบดังขึ้น จึงเริ่มทำข้อสอบอย่างตั้งใจ
วิธีการทำข้อสอบแบบ"อัตนัย"และ"แบบปรนัย"1. เปิดข้อสอบเมื่อได้รับคำสั่ง ตรวจสอบเวลาทำการสอบรวมกี่ชั่วโมงที่หัวข้อสอบให้แน่ชัด เสร็จแล้วเขียนชื่อ/นามสกุล ชั้น/ห้อง เลขที่ประจำตัว เลขที่สอบให้เรียบร้อย ขณะเดียวกันให้ฟังกรรมการผู้คุมสอบไปด้วยว่า มีคำสั่งแก้ไขข้อสอบหรือไม่ ถ้ามีให้พลิกข้อสอบ ไปทำการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงกลับมาเขียนข้อมูลส่วนตัวบนหัวกระดาษคำตอบให้เรียบร้อย2. พลิกดูข้อสอบทั้งหมดมีกี่ข้อ เป็นปรนัยกี่ข้อ อัตนัยกี่ข้อ คำนวณเวลาที่มี โดยปกติข้อสอบอัตนัย 1 ข้อ จะใช้เวลามากกว่าปรนัยประมาณ 3 เท่า ว่าควรจะใช้เวลาคิดได้ข้อละกี่นาที และเหลือเวลาไว้ตรวจสอบคำตอบทั้งหมดในตอนท้ายประมาณ 10 นาที เพราะผู้ออกข้อสอบจะคำนึงถึงเวลาที่ให้กับความยากง่ายของข้อสอบเสมอ3. เมื่อได้เวลาเฉลี่ยต่อข้อในการทำข้อสอบแล้ว พลิกข้อสอบดูคร่าวๆ ตั้งแต่ข้อ 1 ไปถึงข้อสุดท้ายอีกครั้ง เพื่อดูว่าข้อสอบข้อใดบ้างง่ายสำหรับเรา ให้ลงมือทำเลยโดยไล่จากข้อสอบแบบปรนัยไปแบบอัตนัย4. อ่านคำสั่งให้เข้าใจว่าแต่ละส่วนของข้อสอบเขาให้เราตอบอย่างไร ให้วงกลม กากะบาด หรือเติมคำตอบสั้นๆ จับคู่ หรือแสดงวิธีทำ มีผู้เข้าสอบเป็นจำนวนมากต้องเสียใจกับความผิดพลาด เพราะละเลย ไม่อ่านคำสั่งให้ดี เกี่ยวกับการแสดงคำตอบที่ถูกต้องมามากต่อมากแล้ว5. เริ่มทำข้อสอบที่ยากจากข้อแรกไปตามลำดับ อย่าลืม "การวิเคราะห์โจทย์อย่างมีประสิทธิภาพ" จะช่วยให้วางแผนในการคิดหาคำตอบในแต่ละข้อได้รวดเร็วยิ่งขึ้น6. ข้อไหนคิดจนหมดเวลาเฉลี่ยแล้วให้ผ่านไปก่อน คิดข้ออื่นต่อไป ถ้ามีเวลาเหลือแล้วค่อยกลับมาทำใหม่ แต่อย่าลืมจะต้องคงเวลาประมาณ 10 นาทีไว้ตอนท้ายสำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของการทำข้อสอบเสมอ7. อย่าเขียนสูตร ทฤษฎีบท นิยาม หรือวิธีคิดใดๆ ไว้บนมือขณะอยู่ในห้องสอบ เพราะจะทำให้เกิดปัญหากับกรรมการคุมสอบได้ง่ายที่สุด ถ้าจำเป็นควรเขียนบนกระดาษทดที่กรรมการคุมสอบแจกมา
8. สำหรับข้อสอบแบบอัตนัย ให้เขียนวิธีทำด้วยลายมือที่อ่านง่าย ชัดเจน ได้รูปแบบของการทำโจทย์คณิตศาสตร์ ในชั้นเรียน (ไม่ใช้รูปแบบจากการเรียนพิเศษ ซึ่งนั่นควรเขียนเก็บไว้เพื่อความเข้าใจของตนเองเท่านั้น) เพราะคำตอบที่อ่านง่ายตั้งใจเขียน แม้จะตกหล่น ขาดเกินไปบ้าง ก็ชนะใจผู้ตรวจข้อสอบในเรื่องการให้คะแนนมามากต่อมากแล้ว9. ใช้เวลาช่วง 10 นาทีสุดท้าย ตรวจสอบคำตอบที่เราทำมาทั้งหมด ดูว่าเราทำตกหล่น เผลอเลอ ลืมอะไรตรงไหนอีกหรือไม่ มีผู้สอบที่พลาดการได้คะแนน เพราะความเผลอเลอ ลืม ไม่รอบครอบ ทำให้เสียคะแนน อดได้คะแนน หรือไม่ได้รับการคัดเลือก หรือแพ้เขาเพียง 1 คะแนน มามากต่อมากแล้ว (ใช้เวลาในการคิดจนหมดไม่มีเวลาทบทวน) แต่อย่าทบทวนในลักษณะคิดวกไป วนมา แก้ไขหลายครั้งแบบสับสนจนทำให้ข้อถูก กลายเป็นข้อผิด เพราะขาดความมั่นใจในตัวเอง ฉะนั้นทุกข้อที่ทำไปแล้วให้ทบทวนเพียงครั้งเดียว10. ส่งกระดาษคำตอบให้กรรมการผู้คุมสอบเมื่อตรวจทานเสร็จหรือได้ยินสัญญานหมดเวลาสอบ ขณะส่งกระดาษให้เหลือบดูที่หัวกระดาษคำตอบสักนิดว่าเขียน ชื่อ/นามสกุล เลขที่สอบหรือเลขประจำตัว เรียบร้อยแล้วหรือไม่ เพราะยังแก้ไขได้ทัน แต่ถ้าส่งกระดาษ คำตอบไปแล้ว อย่าไปคว้ากลับมาแก้ไขด้วยเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าไม่ได้รับการทวงถามจากกรรมการผู้คุมสอบ .
ข้อสอบแบบ"อัตนัย"อ่านคำสั่งอย่างระมัดระวัง ให้มั่นใจว่าคำถามถามเกี่ยวกับอะไรและจะต้องตอบอย่างไร กะเวลาให้ดี เพื่อที่จะทำข้อสอบได้ทันเวลา ถ้ามีเวลาเหลือเราก็ควรจะตรวจสอบคำตอ ของคุณให้ดี จะต้องตอบคำถามละเอียดแค่ไหน โดยดูจาก ให้ตอบอย่างสั้นเมื่อคำถามมีคำว่า "ระบุ" หรือ "เขียนเป็นข้อๆ" หรือ "ชื่อ..."ให้ตอบอย่างยาว ถ้าคำถามถามด้วยคำว่า "อธิบาย.." หรือ "บรรยาย.." หรือ "ทำไม.."ดูคะแนนที่ให้ไว้ในคำตอบของแต่ละส่วน เราจะได้ทราบคะแนนที่ผู้ตรวจให้เราในแต่ ละข้อนั้น จำนวนเส้นของช่องว่างอาจจะบอกใบ้ให้รู้ว่าควรเขียนคำตอบมากเท่าใด พยายามตอบคำถามให้ครบทุกคำถาม
ข้อสอบแบบ"ปรนัย "อ่านคำสั่งอย่างละเอียด ถ้าทำในกระดาษคำตอบ ควรทำเครื่องหมายตามที่คำสั่งระบุไว้อย่างเคร่งครัด และทำ เครื่องหมายคำตอบให้ตรงกับข้อคำถาม ควรดูตัวเลือกให้ทั่วที่จะเลือกข้อใดข้อหนึ่ง ถ้าต้องเดา ควรเพิ่มโอกาสให้กับตัวเองโดยการตัดคำตอบที่ผิดออกไปให้มากที่สุดเท่า ที่จะทำได้ ถ้าข้อไหนที่ทำไม่ได้ให้ผ่านไปคิดข้อต่อไปก่อน เพื่อเป็นการประหยัดเวลา หลังจากทำเสร็จ ควรตรวจดูว่าได้ตอบคำถามครบทุกข้อแล้ว